Home » 4 มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรม ที่นิยมใช้งานในประเทศไทย

4 มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรม ที่นิยมใช้งานในประเทศไทย

มาตรฐานเหล็ก ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

เหล็ก เป็นวัสดุที่มีบทบาทสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัย ถนน อาคารขนาดใหญ่ สะพาน ป้ายโฆษณา ด้วยคุณสมบัติที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม มีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถขึ้นรูปได้ง่าย นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี บางชนิดทนทานต่อการกัดกร่อนและการเกิดสนิม ทำให้เหล็กเป็นวัสดุที่มีการผลิตและใช้งานทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีผู้ผลิตเหล็กเป็นจำนวนมาก จึงมีข้อกำหนดต่างๆที่เรียกว่า มาตรฐานเหล็ก สำหรับนำไปใช้ในการควบคุมการผลิตและรับรองคุณภาพของสินค้าที่ผลิตจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมคืออะไร 

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรม คือ ข้อกำหนดที่องค์กรอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศจัดทำขึ้น ซึ่งพิจารณาจากส่วนประกอบทางเคมี คุณสมบัติของวัสดุ ขนาด รูปร่าง ตลอดจนกระบวนการผลิต เพื่อควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตวัสดุให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานวัสดุได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้วัสดุจากผู้ผลิตรายอื่นทดแทนกันได้

มาตรฐานการผลิตของแต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ จึงมีระบบมาตรฐานซึ่งเกิดจากการพิจารณาร่วมกันของประเทศต่างๆที่มีการจัดการอุตสาหกรรม ทำให้มีข้อกำหนดที่เรียกว่ามาตรฐานสากล ที่ทั่วโลกให้การยอมรับและนำผลิตภัณฑ์ไปใช้งาน

มาตรฐานเหล็ก ที่นำมาใช้เป็นเกณฑ์ควบคุมการผลิตวัสดุเหล็ก มี 2 ประเภทหลักๆด้วยกัน คือ มาตรฐานอุตสาหกรรมสากล และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Thai Industrial Standards Institute, TIS) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มอก. คือ มาตรฐานที่รับรองคุณภาพวัสดุที่ผลิตในประเทศไทย ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  (สมอ.) เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและปลอดภัย

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท

เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

มาตรฐานทั่วไป เป็นข้อกำหนดที่ผู้ผลิตสามารถแจ้งความประสงค์ เพื่อขอการรับรองคุณภาพวัสดุได้ตามความต้องการ ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ผลิตภัณฑ์ ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้ามีความปลอดภัย และได้มาตรฐาน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่ไม่มีวงกลมล้อมรอบเครื่องหมาย

มาตรฐานบังคับ เป็นข้อหนดสำหรับผู้ผลิต นำเข้า และจัดจำหน่าย ที่จะต้องผลิตสินค้าให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดเท่านั้น เพื่อป้องกันการจัดจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน และคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์ที่มีวงกลมล้อมรอบ

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมญี่ปุ่น

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standard,  JIS) เป็นข้อกำหนดที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JISC) เพื่อกำหนดเกณฑ์ และระบบการตรวจสอบคุณภาพให้มีมาตรฐานที่เป็นสากล เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น สามารถจำแนกได้ตามประเภทของเหล็กและลักษณะของงานที่นำไปใช้ ซึ่งประกอบด้วยคำว่า JIS ตามด้วยตัวอักษรและตัวเลขจำนวน 4 ตัว เช่น JIS G3192

ตัวอักษร = การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่างๆ 

ตัวเลขที่ 1 = กลุ่มประเภทของเหล็ก 

ตัวเลขที่ 2 = ตัวแยกประเภทของวัสดุในกลุ่มนั้นๆ 

ตัวเลขที่ 3-4 = ตัวแยกชนิดของส่วนผสมที่มีอยู่ในวัสดุ

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมอเมริกัน

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมอเมริกัน (American Iron and Steel Institute, AISI) เป็นมาตรฐานสากลที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันเหล็กกล้าของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1918 ซึ่งพัฒนามาจาก ระบบมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ของสหรัฐอเมริกา (SEA)

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมอเมริกัน

โดยการจำแนกประเภทของเหล็ก จะขึ้นต้นด้วย AISI และเพิ่มตัวอักษรหน้าตัวเลขเพื่อระบุกรรมวิธีการผลิตเหล็กโดยใช้เตาแต่ละประเภท ตามด้วยตัวเลขและตัวอักษรจำนวน 4-5 ตัว เช่น AISI B4310 ซึ่งตัวอักษรต่างๆ ระบุความหมายดังนี้ 

A = เหล็กประสมที่ผลิตจากเตาเบสเซมเมอร์ชนิดที่เป็นด่าง

B = เหล็กประสมที่ผลิตจากเตาเบสเซมเมอร์ชนิดที่เป็นกรด

C = เหล็กที่ผลิตจากเตาโอเพ็นฮารท์ชนิดที่เป็นด่าง

D = เหล็กที่ผลิตจากเตาโอเพ็นฮารท์นิดที่เป็นกรด

E = เหล็กที่ผลิตจากเตาไฟฟ้า

ตัวเลขที่ 1 = ชนิดของเหล็กกล้า

ตัวเลขที่ 2 = ปริมาณธาตุที่ผสมในเหล็ก

ตัวอักษร = ธาตุที่เติมเฉพาะ

ตัวเลขที่ 3-4 = ปริมาณของธาตุคาร์บอนที่มีคาร์บอนผสมอยู่ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมเยอรมัน

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมเยอรมัน (Deutsch Institute Norms,  DIN) เป็นหนึ่งในมาตรฐานเหล็ก ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสถาบันรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศเยอรมัน

มาตรฐานเหล็กอุตสาหกรรมเยอรมัน

การจำแนกประเภทของเหล็ก จะระบุเป็น DIN ตามด้วยตัวอักษรที่ระบุชนิดเหล็ก และตัวเลขสลับกับตัวอักษรจำนวน 4 หลัก ซึ่งระบุความหมายดังนี้ 

ตัวอักษร = ชนิดของเหล็ก สามารถจำแนกได้ 4 ประเภท ประกอบด้วย เหล็กกล้าคาร์บอน เหล็กกล้าประสมต่ำ เหล็กกล้าประสมสูง และเหล็กหล่อ 

ตัวเลขที่ 1  = ปริมาณของคาร์บอนคิดสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์และค่าความต้านทานแรงดันต่ำสุด 

ตัวอักษร = สัญลักษณ์ของธาตุที่ผสมในเหล็ก 

ตัวเลขที่ 2  = เปอร์เซ็นต์ของธาตุที่ผสมในเหล็ก ซึ่งการหาเปอร์เซ็นต์ที่แท้จริงของธาตุที่ผสมในโลหะประสมจะต้องหารสัดส่วนด้วย 4, 10, 100 หรือไม่หารเลยขึ้นอยู่กับชนิดของธาตุนั้นๆ 

ตัวอักษร =  กรรมวิธีที่ใช้ผลิตเหล็กและการนำไปใช้งาน

ยูริกา ผลิตชิ้นงานโลหะตามแบบด้วยวัสดุที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมไทยและมาตรฐานอุตสาหกรรมสากล โดยลูกค้าสามารถตรวจสอบเกรดและที่มาของวัสดุได้ เพื่อให้มั่นใจว่า วัสดุที่เรานำมาใช้ในการผลิตชิ้นงาน มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และปลอดภัยต่อการใช้งาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอใบเสนอราคาได้ที่ LINE @eurica


ลูกค้าที่ไว้วางใจเรา

ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี
ทุกงานที่ส่งถึงมือลูกค้าของเรา คืองานที่ดีที่สุด

สอบถาม/ขอใบเสนอราคา

หากคุณกำลังหาผู้ผลิตชิ้นงานเหล็กตามแบบ
ติดต่อเราได้เลย!